กุททาลชาดก ชาดกว่าด้วยความชนะที่ดี
ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เมื่อเบื่อชีวิตปุถุชนก็เอาจอบฝั่งดินไปเป็นฤาษี ครั้นเบื่อหน่ายเพศบรรพชิตก็สึก เป็นเช่นนี้มา ๖ ครั้งแล้ว สุดท้ายข้าพระองค์ได้นำตัวตั้งของกิเลส คือจอบคู่ชีวิตเล่มนี้ขว้างทิ้งลงแม่น้ำ ข้าพระองค์หันหลังเขวี้ยงมันไป เพื่อจะได้ไม่พบเห็นจุดที่มันจมอยู่อีกต่อไป และข้าพระองค์ก็ตัดขาดกิเลสกับมันแต่บัดนั้น
สสปัณฑิตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน
“ มิจำเป็นที่ผู้อื่นจะต้องล่วงรู้หรอกท่านพญากระต่าย คุณความดีในการเสียสละชีวิตเพื่อให้ทานของท่านในครั้งนี้จะคงอยู่ปรากฎตลอดไป ” ทันทีที่กล่าวจบท้าวสักกะในร่างของพราหมณ์ ก็ทำการเขียนรูปของพญากระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเสียสละครั้งนี้ให้อยู่สืบไป
กายนิพพินทชาดก ชาดกว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย
รุ่งเข้าวันหนึ่ง ชายป่วยได้ตื่นเช้ากว่าปกติ เขาหันหน้าออกไปทางหน้าต่างเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ เขามองออกไปดูวิถีชีวิตของชาวบ้าน พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นพระภิกษุสงฆ์ออกมาบิณฑบาต แล้วเขาก็เกิดความคิดอย่างหนึ่ง “ จริงสินะ ชีวิตมันไม่เที่ยงจริง ๆ สังขารย่อมร่วงโรยเป็นธรรมดา ถ้าเราหายจากโรคนี้เราจะบวช ”
ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2563 สำนักศาสนศึกษาวัดพระธรรมกาย
ขอแสดงมุทิตาสักการะพระภิกษุ - สามเณร ผู้สอบผ่าน บาลีสนามหลวง เปรียญธรรมประโยค ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙ และ บาลีศึกษา ๑, ๒, ๓, ๕, ๙ สำนักศาสนศึกษาวัดพระธรรมกาย สำนักเรียนคณะจังหวัดปทุมธานี ประจำปี พ.ศ ๒๕๖๓
กุกกุฏชาดก ชาดกว่าด้วยว่าด้วยผลของการไม่เชื่อง่าย
นางแมวเดินย่องเข้าไปใต้กิ่งไม้ที่พญาไก่ป่าเกาะอยู่ มันพยายามพูดหลอกล่อให้ไก่ป่าตายใจไม่ทันได้ระวังตัวแล้วจะตะครุบกินเป็นอาหาร “ พ่อไก่ผู้สง่างาม ผู้มีขนสีแดงเป็นประกาย เจ้าลงมาจากกิ่งไม้เถอะ เรามีเรื่องจะพูดคุยกับท่าน ”
เสยยชาดก ชาดกว่าด้วยคบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
เมื่ออำมาตย์ผู้หนึ่งได้มีโอกาสไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงตรัสถามถึงเรื่องการถูกใส่ร้ายจนต้องราชทัณฑ์ “ แม้หม่อมฉัน จะถูกจองจำใส่โซ่ตรวน แต่สิ่งนี้กลับทำให้หม่อมฉันได้รับประโยชน์ คือได้โอกาสปฏิบัติธรรม จนได้เห็นดวงตาแห่งธรรมพะยะค่ะ ”
ผลชาดก ชาดกว่าด้วยความสามารถในการดูผลไม้
ณ นครสาวัตถี นอกฤดูพรรษาหนึ่งก่อนที่เหล่าภิกษุสงฆ์จะออกจาริกไปเผยแผ่พระพุทธธรรมตามนิคมแว่นแคว้นต่าง ๆ ชาวพระนครก็มักกราบอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จรับภัตตาหารที่บ้านเรือนตนอยู่มิได้ขาด ครั้งหนึ่งทรงรับนิมนต์คหบดีเจ้าของสวนผลไม้ จึงเสด็จนำหมู่ภิกษุสงฆ์ไปตามการอาราธนานั้น ชาวสวนผลไม้จัดพระพุทธอาสนะให้พระพุทธองค์ประทับภายในเคหสถานของตนพร้อมกับพระเถระผู้ใหญ่
สาลิยชาดก ชาดกว่าด้วยหมอผู้โชคร้าย
หมอพิการคนหนึ่ง ได้วางแผนให้เด็กน้อยลูกพ่อค้าปีนต้นไม้ไปเอาลูกนกสาลิกาในโพรงไม้ ซึ่งความจริงแล้วมีงูอยู่ในโพรงไม้นั้น เด็กน้อยหลงเชื่อปีนขึ้นไป เด็กน้อยจับหัวงูได้ก็เหวี่ยงทิ้งทันที ด้วยบุพกรรมที่ทำร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน เด็กน้อยลูกพ่อค้าเหวี่ยงงูเห่ามาทางหมอพิการพอดี งูพิษพันคอหมอพิการ แล้วฝังคมเขี้ยวฉีดพิษร้าย หมอพิการดิ้นทุรนทุรายอย่างทรมาน มิสามารถเยี่ยวยาได้ทัน
มัจฉทานชาดก ชาดกว่าด้วยการให้ข้าวเป็นทานแก่ปลา
เมื่อมานพผู้พี่เอาเศษอาหารให้ปลาแล้ว ก็ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศส่วนกุศลให้แก้เทพยดาฟ้าที่สิงสถิตอยู่ในแม่น้ำแห่งนี้ ส่วนเทวดาผู้รักษาน้ำได้อนุโมทนารับส่วนกุศล ที่มานพผู้พี่อุทิศมาให้ ลาภยศอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดขึ้นแก่ตน พ่อค้าผู้พี่เมื่ออุทิศส่วนกุศลเรียบร้อยแล้วก็เอาผ้าห่อปูริมแม่น้ำลงนอนพักหลับไป
โกกาลิกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด
พระอัครสาวกและพระโกกาลิกะพร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป ติดตามไปเยี่ยมชาวบ้านในหมู่บ้าน พวกอุบาสกเหล่านั้นพากันต้อนรับด้วยเภสัชและเครื่องนุ่งห่มแต่ก็ไม่ได้ถวายแก่พระโกกาลิกะอีก จึงทำให้ท่านถึงกับทนไม่ไหว ด่าตัดพ้อพระเถระทันที “ พวกท่านนี่ เป็นตัวขัดลาภข้าจริง ๆ ทำไมชาวบ้านถวายสิ่งของแก่พวกท่านกลับไม่ถวายเจ้าอาวาสอย่างข้า ”